วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

DC ammeter

แอมป์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

           คือเครื่องมือสำเร็จรูปที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร ความต้านทานภายในของเครื่องแอมมิเตอร์มีค่าน้อยมาก วิธีใช้ต้องต่อแบบอนุกรมกับวงจร มีหน่วยวัด คือ แอมแปร์


โครงสร้างแอมป์มิเตอร์



ความไวของแอมมิเตอร์



S = ความไวของเครื่องวัดไฟฟ้า
Im = กระแสที่ทำให้เข็มบ่ายเบนเต็มสเกล
การขยายพิสัยแอมมิเตอร์แบบหลายพิสัยวัด
ถ้ามิเตอร์มีค่าการวัดกระแสได้เต็มสเกลต่ําเพียงพิสัยเดียว  ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้
งาน  เมื่อต้องการจะเพิ่มพิสัยการวัดให้สามารถวัดกระแสได้หลายพิสัย  โดยแต่ละพิสัยมีค่ากระแส
เต็มสเกลต่างกัน  สามารถทําได้โดยหาตัวต้านทานชันต์ ที่มีค่าต่าง  ๆ  มาขนานกับส่วนเคลื่อนไหว
ของมิเตอร์ และใช้ซีเล็กเตอร์สวิตช์เป็นตัวเลือกพิสัยการวัดตามต้องการวิธีการต่อวงจรขยายพิสัยวั ด
ของแอมมิเตอร์  สามารถต่อได้2 วิธี คือ
1.  แอมมิเตอร์แบบใช้ตัวต้านทานชันต์แยกตัวแต่ละพิสัย(Individual Ammeter)
แอมมิเตอร์แบบนี้  ตัวต้านทานชันต์ที่นํามาต่อขนานกับส่วนเคลื่อนไหว  ของมิเตอร์จะถูก
แยกเป็นอิสระโดยไม่เกี่ยวข้องกัน  การเลือกพิสัยการวัดจะใช้ซีเล็กเตอร์สวิตช์เป็นตัวเลือกพิสัยการ
วัด วงจรแอมมิเตอร์แบบนี้ แสดงดังรูป



2.แอมมิเตอร์แบบใช้ตัวตานทานชันต์ร่วมแต่ละพิสัย(Universal)  หรือ  แอมมิเตอร์แบบ
อาร์ตอนชันต์(Ayrton Shunt Ammeter)
                แอมมิเตอร์แบบนี้ตัวต้านทานที่ใช้  เพื่อแบ่งกระแสในการขยายพิสัยวัดทุกตัวจะต่อ
อนุกรมกัน  และทั้งหมดจะต่อขนานกับส่วนเคลื่อนไหวของมิเตอร์  พิสัยที่ขยายพิสัยวัดแต่ละพิสัย
ถูกต่อออกมาจากรอยต่อของตัวต้านทานแต่ละตัว  การต่อแบบนี้ จะดี กว่าการต่อแบบแรกตรงที่
ในขณะวัดกระแสในวงจรแอมมิเตอร์แบบนี้จะไม่ เสียหาย  เพราะในขณะเปลี่ยนพิสัยวัดจะมีตั ว
ต้านทานต่อในวงจรตลอดเวลา วงจรแสดงในรูป
ความผิดพลาด
1.ความผิดพลาดเนื่องจากใส่แอมมิเตอร์เข้าไปในวงจร (Insertion Error)                                                           เนื่องจากการวัดกระแสไฟฟ้าต้องต่อแอมมิเตอร์อนุกรมกับกับอุปกรณ์จึงทำให้ในวงจรเกิดตัวต้านทานเพิ่มขึ้นอีกจากความต้านทานภายในของแอมมิเตอร์

ในรูปภาพแสดงให้เห็นถึงความต้านทานภายในแอมมิเตอร์
2.ความผิดพลาดเนื่องจากความฝืด (Friction Errors)
เนื่องจากส่วนเคลื่อนที่ได้ติดตั้งอยู่บนเดือยดังนั้นจึงเกิดความผิดพลาดเนื่องจากความฝืด ความผิดพลาดนี้สามารถควบคุมให้น้อยลงได้โดย                                                                                                                           -ทำให้ปลายเดือยแหลมมากแต่ก็จะทำให้เดือยหักง่าย                                                                                    -ใช้ส่วนเคลื่อนที่แบบแขวน จะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยมากจนตัดทิ้งได้

3.ความผิดพลาดเนื่องจากอุณหภูมิ (Temperature Errors)                                                                                    การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทำให้อัตราส่วนของความต้านทานของส่วนเคลื่อนที่ต่อความต้านทานของชันต์เปลี่ยนไป ทำให้กระแสที่แยกไหลเปลี่ยนไปจากเดิม การชดเชยความผิดพลากนี้ทำได้โดยต่อความต้านทานพวกแมงกานินอนุกรมเข้าไป






ข้อควรระวัง
                ห้ามต่อแอมมิเตอร์คร่อมแหล่งกำเนิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า  เพราะว่าความต้านทานภายในของแอมมิเตอร์ที่ต่ำจะดึงกระแสค่าสูงมากจากแหล่งกำเนิด ทำให้ส่วนเคลื่อนที่ถูกทำลาย  จะต้องต่อแอมมิเตอร์อนุกรมกับโหลดที่มีความเหมาะสม
การบำรุงรักษาแอมมิเตอร์
1.  การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจร ควรใช้แอมป์มิเตอร์ต่ออนุกรมกับโหลดที่ต้องการวัดเสมอ
2. ต้องคำนึงถึงขั้วของแอมป์มิเตอร์ที่นำไปวัดด้วยถ้านำสายแอปม์มิเตอร์ไปวัดต่อผิดขั้ว ก็จะทำให้เข็มตีกลับอาจจะทำให้       แอมป์มิเตอร์เสียหายได้
3. การวัดแอมป์มิเตอร์ ควรตั้งย่านจัดไว้ ย่านสูงสุดไว้ก่อน ถ้าอ่านยากแล้วค่อย ๆ ปรับมายังย่านวัดลงมา เพื่อป้องกันเข็มตี       ล้นสเกลอย่างรุนแรงอาจจะทำให้โวลท์มิเตอร์เสียหายได้เช่นกัน
4. ในการปรับย่านวัดแต่ละครั้ง ควรนำสายวัดออกจากจุดวัดก่อนเสมอ
5. ป้องกันมิให้แอมป์มิเตอร์ได้รับการกระทบกระเทือน ฝุ่นละออง ความชื้น และความร้อน



อ้างอิง

ศักรินทร์ โสนันทะ,เครื่องมือวัดและการวัดทางไฟฟ้า,กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2545
ประยูร เชี่ยววัฒนา,เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า,กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2535
รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์,การวัดและเครื่องวัดไฟฟ้า,กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น),2543
                                                                                                                           

                                                                                                                            จัดทำโดย
นายธีรเมศร์ รัศมีจรัสฐากร 55070500461

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น