วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้น

ความรู้เบื้องต้น
มาตราฐานปริมาณทางไฟฟ้า

                  การวัดคือการคำนวณค่าปริมาณที่ไม่ทราบค่าว่ามีปริมาณที่กำหนดคงที่เท่าใดมีปริมาณที่กำหนดคงที่นี้เรียกว่าหน่วย(unit) ฉะนั้นการวัดจึงต้องมีระบบหน่วยวัดที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และใช้สะดวก ดังนั้นเพื่อให้เป็นสากลทั่วโลกหน่วยวัดจึงต้องใช้ค่าเหมือนกัน                                                                                                              
DC Amp Meter

                 คือเครื่องมือสำเร็จรูปที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร ความต้านทานภายในของเครื่องแอมมิเตอร์มีค่าน้อยมาก วิธีใช้ต้องต่อแบบอนุกรมกับวงจร มีหน่วยวัด คือ แอมแปร์




                                                                                                                       จัดทำโดย                                                                                                                              นายกานต์ เม่งช่วย 55070500455                                                                                                          นายธีรเมศร์ รัศมีจรัสฐากร 55070500461

มาตราฐานปริมาณทางไฟฟ้า

มาตราฐานปริมาณทางไฟฟ้า
         การวัดคือการคำนวณค่าปริมาณที่ไม่ทราบค่าว่ามีปริมาณที่กำหนดคงที่เท่าใดมีปริมาณที่กำหนดคงที่นี้เรียกว่าหน่วย(unit) ฉะนั้นการวัดจึงต้องมีระบบหน่วยวัดที่ถูกต้องเชื่อถือได้ และใช้สะดวก ดังนั้นเพื่อให้เป็นสากลทั่วโลกหน่วยวัดจึงต้องใช้ค่าเหมือนกัน ซึ่งจำเป็นต้องมีคำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับหน่อยวัดและวิธีคำนวณปรับเทียบกับระบบวัดลักษณะนี้เรียกว่า มาตรฐาน (standard) ในการใช้งานประจำวัน   การวัดด้วยเครื่องวัดจะต้องนำค่าวัดมาปรับเทียบกับมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงภายในท้องถิ่นซึ่งเทียบเท่ากับการนำมาปรับเทียบกับมาตรฐานที่สูงขึ้นและสูงขึ้น ดังนี้เรื่อยไปเพื่อให้การปรับเทียบตรงตามมาตรฐานระดับประเทศซึ่งกำหนดคุณสมบัติเฉพาะที่ตกลงกันเป็นสากล 
          การปรับเทียบ (calibration)คือการตรวจสอบระบบวัดให้ตรงกับมาตรฐานเมื่อระบบอยู่ในสภาพที่สอดคล้องกับสภาพที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
          สำหรับหน่วยวัดพื้นฐานและหน่วยวัดอนุพันธ์ จะมีความแตกต่างกันตามมาตรฐานของการวัด
แบ่งตามหน้าที่การทำงาน และการประยุกต์ใช้งานได้ดังนี้ 
                   
                1) มาตรฐานสากล (INTERNATIONAL   STANDARDS)
               2) มาตรฐานเบื้องต้น (PRIMARY  STANDARDS)
               3) มาตรฐานชั้นที่สอง (SECONDARY  STANDARDS)
               4) มาตรฐานการใช้งาน (WORKING  STANDARDS) 

      1) มาตรฐานสากล (INTERNATIONAL   STANDARDS)   คือมาตรฐานที่เป็นข้อตกลงของนานาชาติกำหนดหน่วยการวัดที่แน่นอนขึ้นมาแทนเพื่อให้มีความเที่ยงตรงสูง สำหรับการใช้งานทางเทคโนโลยีด้านการผลิดและการวัด มาตรฐานสากลนี้จะถูกตรวจเช็คและทดสอบค่าอย่างสม่ำเสมอ โดยการวัดแบบสมบูรร์ในเทอมของหน่วยพื้นฐาน มาตรฐานสากลนี้จะถูกเก็บรักษามาตรฐานไว้ที่สำนักงานมาตฐานน้ำหนักและการวัดนานาชาติ (INTERNATIONAL BUREAU OFWEIGHTS AND MEASURES) และไม่ใช่เป็นสิ่งที่งายที่จะใช้เครื่องมือวัดในการวัด เพื่อความมุ่งหมาย
ในการเปรียบเทียบค่าและปรับแต่งค่า

      2) มาตรฐานเบื้องต้น(PRIMARY  STANDARDS)   เป็นมาตรฐานที่ดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานนานาชาติที่ใช้ในห้องปฎิบัติการ ในส่วนที่มีความแตกต่างกันทั่วโลก การควบคุมดูแลมาตรฐานเบื้องต้นนี้ ถูกดูแลโดยสำนักงานมาตรฐานนานาชาติหรือ NBS(NATIONAL BUREAU OF STANDARDS) ตั้งอยู่ที่วอชิงตันในทวีปอเมริการเหนือ อีกแห่งหนึ่งคือห้องปฎิบัติการทางฟิสิกส์นานาชาติหรือ NPL (NATIONAL PHYSICAL ABORATORY) ในอังกฤษเวลส์ และสกอตแลนด์และแห่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือที่ ฟิสิกคอลลิซ เทคนิสเซ ริซแซนตอล (PHYSIKALISCHTECHNISCHE REICHSANSTALT) ในเยอรมัน มาตรฐานเบื้องต้นใช้แทนหน่วยพื้นฐานและบางส่วนในหน่วยทางเครื่องกล และหน่วยทาางไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับการปรับแต่งโดยเครื่องมือวัดแบบสัมบูรณ์ในห้องปฏิบัติการนานาชาติ ผลของการวัดจะถูกเปรียบเทียบอีกครั้งกับค่าต่าง ๆ นำไปใช้ในการเปรียบเทียบกับคาต่าง ๆ ทั่วโลกมาตรฐานเบื้องต้นนี้จะใช้ในห้องปฏิบิตการเท่านั้ ไม่นำไปใช้ภายนอก ค่ามาตรฐานต่าง ๆ ของมาตรฐานเบื้องต้นนี้จะใช้ในการตรวจสอบและปรับแต่งมาตรฐานขั้นที่สองต่อไป 

       3) มาตรฐานขั้นที่สอง(SECONDARY  STANDARDS)   ก็คือมาตรฐานที่ใช้มาตรฐานเบื้องต้นเป็นตัวอ้างอิง ใช้วานของเครื่องมือวัดในห้องปฎิบัติการทางอุตสาหกรรม มาตรฐานขั้นที่สองนี้ ถูกดูแลโดยห้องปฎิบัติการของโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง และมีการตรวจสอบอีกครั้งกับมาตรฐานอ้างอิงในพื้นที่นั้น ๆ และต้องรับผิดชอบในการดูแลรักษาและการปรับแต่งมาตรฐานขั้นที่สองในห้องปฎิบัติการอุตสาหกรรมของตัวเอง มาตรฐานขั้นที่สองนี้ ถือว่ามาตรฐานเบื้องต้น ดังนั้นมาตรฐานที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้ จะต้องได้รับการรับรองค่าการวัดจากมาตรฐานเบื้องต้น 

    4) มาตฐานการใช้งาน (WORKING  STANDARDS)    เป็นมาตฐษนของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการวัดในห้องปฏิบัติในการ ใช้ในการตรวจสอบและปรับแต่งทั่วไปของเครื่องมือวัดในห้องปฏิบัติการสำหรับความเที่ยงตรงและคุณสมบัติ หรือใหช้เปรียบเทียบเครื่องมือวัดในห้องปฎิบัติการสำหรับความเที่ยงตรงและคุณสมบัติ หรือใช้ตัวต้านทานมาตรฐานในแผนกควบคุมคุณภาพเพื่อตรวจสอบสินค้าและตรวจสอบสินค้า และตรวจสอบเครื่องมือวัดว่ายังอยู่ในความเที่ยงตรง และถูกต้องหรือไม่    




มาตรฐานปริมาณทางไฟฟ้า(Electrical Standards)
1.แอมแปร์สัมบูรณ์ (Absolute Ampere)
       จากระบบ SI นิยามว่า 1 แอมมแปร์ (หน่วยพื้นฐานของกระแส) คือ ปริมาณของกระแสที่ผ่านเข้าไปในตัวนำตรงยาวอนันต์ไม่คำนึงถึงพื้นที่หน้าตัด วางขนานห่างกัน 1 เมตร ในสุญญากาศจะทำให้เกิดแรงบนตัวนำ เท่ากับ 2*10^-7 N/m แต่การวัดแบบนี้ยังไม่แน่นอน
      จากหน่วยสากล นิยามว่า 1 แอมแปร์ คือ กระแสซึ่งสามารถแยกเงินออกจากสารละลายเงินไนเตรทมาตรฐานด้วยอัตรา 1.118 มิลลิกรัม/วินาที แต่ก็ยังเกิดความยุ่งยากในการวัดอยู่ในปี 1948 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น แอมแปร์สัมบูรณ์ที่ซึ่งอาศัยการวัดในลักษณะกระแสสมดุล (Current Balance)โดยการวัดแรงระหว่างขดลวด 2 ชุดที่มีกระแสไหล และเป็นที่ยอมรับเป็นหน่วยพื้นฐานของกระแสในระบบ SI
     แรงดัน,กระแสและความต้านทาน จะมีความสัมพันธ์กันตามกฎของโอห์ม คือ V =IR   ถ้าหากเรากำหนดให้ 2 ปริมาณ  ปริมาณที่ 3 จะหาได้โยสมการ เช่นถ้าเราให้แรงดันคร่อมตัวต้านทานคงที่และใช้ตัวต้านทานมาตราฐาน เราจะสามารถรักษาให้กระแสคงที่โดยมีความเที่ยงตรงสูงในช่วงเวลาที่นานได้


2.ตัวต้านทานมาตรฐาน (Resistance Standards)
      ในระบบ SI,ค่าสัมบูรณ์ของโอห์ม ถูกนิยามในเทอมของหน่วยพื้นฐานของความยาว,มวลและเวลาที่ NBS 
จะเก็บรักษากลุ่มของ มาตรฐานปฐมภูมิ (ตัวต้านทานมาตรฐาน 1 โอห์ม) ซึ่งจะถูกตรวจสอบซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
     ตัวต้านทานมาตรฐานทำจากพวกลวดแมงกานีน (manganin) ซึ่งมีความต้านทานจำเพาะทางไฟฟ่าสูง มสัมประสิทธิความต้านทานต่ออุณหภูมิต่ำ พันเป็นขดบรรจุในกล่อง 2 ชั้น เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานเนื่องจากความชื้นในอากาศกถุ่มของ มาตรฐานปฐมภูมินี้สามารถแทนหน่วยได้ละเอียดถึง 1/10 ในเวลา
หลายๆปี
    สำหรับตัวต้านทาน มาตรฐานทุติยภูมิและมาตรฐานของการทำงาน ทางบริษัทผู้ผลิตจะผลิตออกมาเป็นตัวคูณของ 10 โอห์ม ซึ่งมีค่าระหว่าง 0.001 โอห์ม ถึง 100,000 โอห์ม




รูปแสดงภายในกล่องตัวต้านทานมาตราฐาน


                  ตัวต้านทานมาตรฐานแบบทุติยภูมิ บางทีเรียกว่า transfer resistor โดยขดลวดความต้านทาน(แมงกานิน) จะพันอยู่บนโพลีเอสเตอร์ เพื่อลดความเค้นบนลวดและทำให้เสถียรภาพของตัวต้านทานดี ขดลวดจะแช่อยู่ในน้ำมันที่ไม่มีความชื้นปนอยู่เลย และเก็บอยู่ในกล่องที่ผนึกแน่นถึงแม้ว่าความต้านทานนี้ จะมีค่าเกือบคงที่ตลอดช่วงอุณหภูมิที่กว้างก็สามารถคำนวณหาความต้านทานที่อุณหภูมิใดๆได้จากสมการ  R(t) = R(25°C)+  α (t-25) +β(t-25)^2
เมื่อ R(t) = ความต้านทานที่อุณหภูมิ
      R(25°C) = ความต้านทานที่ 25°C  และ = ค่าสัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิของตัวต้านทาน
ซึ่ง α < 10*10^-6 และ -6*10^-7 หมายความว่า ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนไป 10 °C สูงกว่า 25 °C ความต้านทานจะเปลี่ยนไป 30 57’ 60 ppm จากค่าปกติ transfer resistor นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรม,งานวิจัย,งานมาตรฐานและปรับเทียบ
3.แรงดันมาตรฐาน (Voltage Standard)
       มาตรฐานแรงดันกำหนดพื้นฐานจาก เซลล์เคมี-ไฟฟ้า เรียกว่า เซลล์มาตรฐานแบบอิ่มตัวหรือเซลล์มาตรฐาน ซึ่งเป็นแบบขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และแรงดันขาออกจะเปลี่ยนประมาณ -40 uV/°C จากแรงดันไฟฟ้าที่ 20°C ซึ่งมีค่า 1.01858 V
     เซลล์มาตรฐานที่ใช้คือ เซลเวสตัน (Weston Cell) ประกอบด้วย ปรอทเป้นขั้วบวกและมีแคดเมียม อมากลัม (cadmium amalgam  หรือ 10% cadmium) เป็นขั้วลบ มีสารละลายของแคดเมียมซัลเฟด (cadmium sulfate) เป็นอิเลกโทรไลท์ ทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในขวดแก้วรูปตัว H ดังรูป
    เซลล์เวสตันมี 2 แบบ คืออิ่มตัว (saturated) แบบนี้อิเลกโทรไลท์ จะอิ่มตัวทุกอุณหภูมิมีผลึกของแคดเมียมซัลเฟดจับที่ขั้ว (electrodes) และแบบไม่อิ่มตัว (unsaturated) แบบนี้อิเล็กโทรไลท์จะอิ่มตัวที่อุณหภูมิ 4 °C
แบบอิ่มตัวจะมีเสถียรภาพดีกว่า แบบไม่อิ่มตัวที่ NBS จะใช้เซลล์แบบอิ่มตัวเป็นมาตรฐานปฐมภูมิของแรงดัน โดยแช่เซลล์เหล่านี้ในอ่างน้ำมัน ซึ่งจะสามารถควบคุมอุณหภูมิของเซลล์ในช่วง 0.01°C แรงดันของเซลล์แบบอิ่มตัวที่ 20°C = 1.01858 V (ค่าสัมบูรณ์) และที่อุณหภูมิอื่นมีค่าตามสมการ
         e(t) = e(20°C)-0.000046(t-20)-0.00000095(t-20)^2 + 0.0000001(t-20)^3
เซลล์เวสตันแบบอิ่มตัว สามารถใช้เป็นมาตราฐานแรงดันได้ 10-20 ปี ถ้ามีการเก็บรักษาให้ดี
การดริฟท์(drift) ของแรงดันอยู่ในช่วง 1 uV ต่อปี และเซลล์มาตรฐานนี้จะไวต่ออุณหภูมิมากจึงไม่เหมาะในการใช้เป็น มาตรฐานทุติยภูมิและมาตรฐานของการทำงาน



โครงสร้างของเวสตันแบบอิ่มตัว

        ส่วนมาตราฐานทุติยภูมิและมาตราฐานของการทำง่านจะใช้เซลล์แบบไม่อิ่มตัวเซลล์แบบนี้มีโครงสร้างเหมือนกับเซลล์แบบอิ่มตัวเพียงแต่ไม่ต้องการ การควบคุมอุณหภูมิให้แน่นอน แรงดันไฟฟ้าแบบไม่อิ่มตัว จะอยู่ในช่วง 1.0180 < V < 1.0200 V และเปลี่ยนแปลน้อยกว่า 0.01% จาก 10°C ถึง 40°C ความต้านทานภายในของเวสตันมีช่วงจาก 500-800 โอห์ม ดังนั้นกระแสจากเซลล์จึงไม่ควรเกิน 100 uA เพราะจะทำให้ค่าแรงดันที่ขั้วลด
ลงเนื่องจากแรงดันตกคร่อมความต้านทานภายในนั้น 
     ส่วนมาตรฐานการทำงานในห้องปฏิบัติการ มีการพัฒนาขึ้นจนมีความถูกต้องใกล้เคียงเซลล์มาตรฐานเรียกว่า transfer standard สร้างโดยอาศัยการทำงานของซีเนอร์ไดโอดเป็นส่วนสร้างแรงดันอ้างอิง โดยมีการควบคุมอุณหภูมิเพื่อทำให้เสถียรภาพที่ดีและนานทั้งสามรถตั้งแรงดันขาออกได้อย่างละเอียด อุณหภูมิที่ควบคุมจะอยู่ในช่วง 0.03 ถึง -0.03 °C เมื่ออุณหภูมิรอบนอกมีช่วงจาก 0 ถึง 5°C โดยจะให้แรงดันขาออกอยู่ในระดับ 10 ppm /เดือน รูปที่ แสดงตัวอย่างของ transfer standard ซึ่งจะให้แรงดันขาออก 4 ค่า คือ ก) ที่ 0-1,000 uV กับ 1 uV ซึ่งเรียกว่า (  Δ ) : ขาที่ 1,000 V  ข) ใช้อ้างอิงกับการวัดจากกล่องแรงดัน potentiometric ; ค) ที่ 1.018+(  Δ )ใช้อ้างอิงสำหรับเซลล์แบบอิ่มตัว ; ง)ที่ 1.0190+( Δ ) ใช้อ้างอิงกับเซลล์แบบไม่อิ่มตัว
    ส่วน DC transfer standard สามารถใช้เป็นเครื่องมือ transfer และสามารถเคลื่อนย้ายนำติดตัวไปปรับเทียบในที่ต่างๆ ได้ โดยค่าของมันจะกลับภายใน +1/-1 ppm ภายหลังการอุ่นเครื่องประมาณ 30 นาที



เวสตันแบบไม่อิ่มตัว

DC transfer standard
4.คาปาซิแตนซ์มาตรฐาน (Capacitance Standards)
     หน่วยของคาปาซแตนซ์ (Capacitance) เป็นฟารัด, F สามารถวัดได้ด้วย Maxwell dc commutation จากรูปที่ เนื่องจากความต้านทานและความถี่จัดให้มีความถูกต้องสูง ทำให้ค่าของคาปาซิแตนซ์ที่คำนวณได้มีค่าความถูกต้องสูงด้วย
    ตัวเก็บประจุมาตรฐาน ปกติจะสร้างจากแผ่นโลหะซึ่งมีฉนวนอยู่ระหว่างกลางพื้นที่ชองแผ่นและระยะห่างระหว่างแผ่นจะต้องรู้ค่าที่แน่นอน
    ชุดของตัวเก็บประจุของ NBS ถือว่าเป็นมาตราฐานและใช้สำหรับปรับเทียบมาตราฐานทุติยภูมิละมตราฐานของการทำงานของการวัดในห้องปฏิบัติการและอุตสาหกรรม


Capacitance working dtandards จะมีการสร้างหลายๆค่าเพื่อความเหมาะสม ค่า capacitance ต่ำๆ ส่วนมากจะทำเป็น air capacitors ถ้าตัวใหญาจะทำโดยใช้สาร dielectric เป็น solid ตัว เก็บประจุทำด้วย silver-mica ถือว่าเป็นมาตราฐานการทำงานที่ดีเยี่ยมมีเสถียรภาพสูง มีสัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิน้อยมาก
5.ความเหนี่ยวนำมาตรฐาน (Inductance Standards)
ความเหนี่ยวนำมาตรฐานปฐมภูมิ มีนิยามจากโอห์มและฟารัด NBS เลือก Campell Standard ของความเหนี่ยวร่วมและความเหนี่ยวนำตัวเอง ส่วนมาตรฐานของการทำงานของความเหนี่ยวนำมีค่าตั้งแต่ 100 uH ถึง 10 H มีความถูกต้อง 0.1% ที่ความถี่กำหนด

Reference
1.หนังสือเครื่องวัดทางไฟฟ้าและการวัด 1 (Electrical Instrumentation) ผู้แต่ง ผศ.สุภาวี  สวัสดิพรพัลลก หน้า 21-29
2.หนังสือ Modern Electronic Instrumentation and Measurement Techniques ผู้แต่ง Helfrick.Albert D หน้า 32-46
3.หนังสือการวัดและเครื่องวัด ผู้แต่ง เอก ไชย์สวัสดิ์ หน้า 30-34
4. http://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/labphysics2/meter/stan.html

                                                                                                                                    จัดทำโดย
นายกานต์ เม่งช่วย 55070500455

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

DC ammeter

แอมป์มิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

           คือเครื่องมือสำเร็จรูปที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร ความต้านทานภายในของเครื่องแอมมิเตอร์มีค่าน้อยมาก วิธีใช้ต้องต่อแบบอนุกรมกับวงจร มีหน่วยวัด คือ แอมแปร์


โครงสร้างแอมป์มิเตอร์



ความไวของแอมมิเตอร์



S = ความไวของเครื่องวัดไฟฟ้า
Im = กระแสที่ทำให้เข็มบ่ายเบนเต็มสเกล
การขยายพิสัยแอมมิเตอร์แบบหลายพิสัยวัด
ถ้ามิเตอร์มีค่าการวัดกระแสได้เต็มสเกลต่ําเพียงพิสัยเดียว  ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้
งาน  เมื่อต้องการจะเพิ่มพิสัยการวัดให้สามารถวัดกระแสได้หลายพิสัย  โดยแต่ละพิสัยมีค่ากระแส
เต็มสเกลต่างกัน  สามารถทําได้โดยหาตัวต้านทานชันต์ ที่มีค่าต่าง  ๆ  มาขนานกับส่วนเคลื่อนไหว
ของมิเตอร์ และใช้ซีเล็กเตอร์สวิตช์เป็นตัวเลือกพิสัยการวัดตามต้องการวิธีการต่อวงจรขยายพิสัยวั ด
ของแอมมิเตอร์  สามารถต่อได้2 วิธี คือ
1.  แอมมิเตอร์แบบใช้ตัวต้านทานชันต์แยกตัวแต่ละพิสัย(Individual Ammeter)
แอมมิเตอร์แบบนี้  ตัวต้านทานชันต์ที่นํามาต่อขนานกับส่วนเคลื่อนไหว  ของมิเตอร์จะถูก
แยกเป็นอิสระโดยไม่เกี่ยวข้องกัน  การเลือกพิสัยการวัดจะใช้ซีเล็กเตอร์สวิตช์เป็นตัวเลือกพิสัยการ
วัด วงจรแอมมิเตอร์แบบนี้ แสดงดังรูป



2.แอมมิเตอร์แบบใช้ตัวตานทานชันต์ร่วมแต่ละพิสัย(Universal)  หรือ  แอมมิเตอร์แบบ
อาร์ตอนชันต์(Ayrton Shunt Ammeter)
                แอมมิเตอร์แบบนี้ตัวต้านทานที่ใช้  เพื่อแบ่งกระแสในการขยายพิสัยวัดทุกตัวจะต่อ
อนุกรมกัน  และทั้งหมดจะต่อขนานกับส่วนเคลื่อนไหวของมิเตอร์  พิสัยที่ขยายพิสัยวัดแต่ละพิสัย
ถูกต่อออกมาจากรอยต่อของตัวต้านทานแต่ละตัว  การต่อแบบนี้ จะดี กว่าการต่อแบบแรกตรงที่
ในขณะวัดกระแสในวงจรแอมมิเตอร์แบบนี้จะไม่ เสียหาย  เพราะในขณะเปลี่ยนพิสัยวัดจะมีตั ว
ต้านทานต่อในวงจรตลอดเวลา วงจรแสดงในรูป
ความผิดพลาด
1.ความผิดพลาดเนื่องจากใส่แอมมิเตอร์เข้าไปในวงจร (Insertion Error)                                                           เนื่องจากการวัดกระแสไฟฟ้าต้องต่อแอมมิเตอร์อนุกรมกับกับอุปกรณ์จึงทำให้ในวงจรเกิดตัวต้านทานเพิ่มขึ้นอีกจากความต้านทานภายในของแอมมิเตอร์

ในรูปภาพแสดงให้เห็นถึงความต้านทานภายในแอมมิเตอร์
2.ความผิดพลาดเนื่องจากความฝืด (Friction Errors)
เนื่องจากส่วนเคลื่อนที่ได้ติดตั้งอยู่บนเดือยดังนั้นจึงเกิดความผิดพลาดเนื่องจากความฝืด ความผิดพลาดนี้สามารถควบคุมให้น้อยลงได้โดย                                                                                                                           -ทำให้ปลายเดือยแหลมมากแต่ก็จะทำให้เดือยหักง่าย                                                                                    -ใช้ส่วนเคลื่อนที่แบบแขวน จะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยมากจนตัดทิ้งได้

3.ความผิดพลาดเนื่องจากอุณหภูมิ (Temperature Errors)                                                                                    การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ทำให้อัตราส่วนของความต้านทานของส่วนเคลื่อนที่ต่อความต้านทานของชันต์เปลี่ยนไป ทำให้กระแสที่แยกไหลเปลี่ยนไปจากเดิม การชดเชยความผิดพลากนี้ทำได้โดยต่อความต้านทานพวกแมงกานินอนุกรมเข้าไป






ข้อควรระวัง
                ห้ามต่อแอมมิเตอร์คร่อมแหล่งกำเนิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า  เพราะว่าความต้านทานภายในของแอมมิเตอร์ที่ต่ำจะดึงกระแสค่าสูงมากจากแหล่งกำเนิด ทำให้ส่วนเคลื่อนที่ถูกทำลาย  จะต้องต่อแอมมิเตอร์อนุกรมกับโหลดที่มีความเหมาะสม
การบำรุงรักษาแอมมิเตอร์
1.  การวัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจร ควรใช้แอมป์มิเตอร์ต่ออนุกรมกับโหลดที่ต้องการวัดเสมอ
2. ต้องคำนึงถึงขั้วของแอมป์มิเตอร์ที่นำไปวัดด้วยถ้านำสายแอปม์มิเตอร์ไปวัดต่อผิดขั้ว ก็จะทำให้เข็มตีกลับอาจจะทำให้       แอมป์มิเตอร์เสียหายได้
3. การวัดแอมป์มิเตอร์ ควรตั้งย่านจัดไว้ ย่านสูงสุดไว้ก่อน ถ้าอ่านยากแล้วค่อย ๆ ปรับมายังย่านวัดลงมา เพื่อป้องกันเข็มตี       ล้นสเกลอย่างรุนแรงอาจจะทำให้โวลท์มิเตอร์เสียหายได้เช่นกัน
4. ในการปรับย่านวัดแต่ละครั้ง ควรนำสายวัดออกจากจุดวัดก่อนเสมอ
5. ป้องกันมิให้แอมป์มิเตอร์ได้รับการกระทบกระเทือน ฝุ่นละออง ความชื้น และความร้อน



อ้างอิง

ศักรินทร์ โสนันทะ,เครื่องมือวัดและการวัดทางไฟฟ้า,กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2545
ประยูร เชี่ยววัฒนา,เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า,กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2535
รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์,การวัดและเครื่องวัดไฟฟ้า,กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น),2543
                                                                                                                           

                                                                                                                            จัดทำโดย
นายธีรเมศร์ รัศมีจรัสฐากร 55070500461